วิธีการทำงานของกล้อง IP Network Camera
ควบคู่กับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ ADSL ซึ่งผู้ใช้สามารถเฝ้าดูแล รับฟัง เสียงและบันทึกภาพพร้อมเสียงจาก ระยะไกลโดยผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ห้างร้าน โกดังสินค้า ที่ทำงาน สำนักงานต่าง ๆ ฯลฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงหรือ ตราบเท่าที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงการรับมือกับ Dynamic IP ซึ่งทาง ISP หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นผู้จัดสรร ให้กับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบ Home Use หรือ อินเตอร์เน็ตตามบ้านนั้นคือการเปลี่ยนแปลงของ Public IP ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาเรามาดู วิธีการติดตั้งและการจัดการกับเจ้า Dynamic IP ว่าทำกันอย่างไร
เริ่มขั้นตอนการเชื่อมต่ออุปกรณ์กล้อง IP Network Camera สู่อินเตอร์เน็ต
อย่างแรกเราต้องมีคู่สายโทรศัพท์ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญในการรับชมรับฟัง ภาพสดจากกล้อง IP Network Camera ส่วนท่านจะสนใจผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รายไหนก็ขึ้นอยู่ กับดุลพินิจของท่านและพื่นที่ที่มีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายใดรองรับอยู่บ้าง อีกประการที่ท่าน ต้องตัดสินใจก็คือการเลือกความเร็วในการรับส่งข้อมูลของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ถ้าความเร็วยิ่ง สูงก็จะทำให้คุณภาพของสัญญาณภาพและเสียงจากกล้อง IP Network Camera มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ในที่นี้กล้องต้นแบบของเราใช้ความเร็วอยู่ที่ 256 Kb/s ในส่วนของการ Up Load (ส่งข้อมูล) สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงก็คือการเลือกใช้ อุปกรณ์ ADSL Modem Router ซึ่งใช้เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แน่นอน ADSL Modem Router มีคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการใช้งานที่ดีกว่า ADSL Modem เพราะมีคุณสมบัติในการจัดการ ด้านเน็ตเวิร์กที่หลากหลาย อาทิเช่น NAT , DMZ , Firewall , Virtual Server , DDNS และ Remote Management บางรุ่นมี Port 10/100 Ethernet port พร้อมใช้งานทำให้สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โน๊คบุ๊ค หรือกล้อง IP Network Camera มาต่อได้ทันที่โดยไม่ต้องมี อุปกรณ์อย่างอื่นเสริม
การเชื่อมต่อกล้อง IP Network Camera เข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต
ทั้งนี้ ADSL Modem Router แบบไหนที่จะเหมาะสมและมีการทำงานร่วมกันได้ดีกับ IP Network Camera ? จากบทความนี้ขอยกตัวอย่าง ADSL Modem Routerรุ่น Bipac 5102 ซึ่งมี 10/100 Ethernet Switch อยู่ 4 Port พร้อมกับ feature & function การใช้งานที่หลากหลายและยัง มีฟังก์ชั่นที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ Dynamic IP ทำให้เราสามารถควบคุมกล้อง IP Network Camera (access) จากที่ต่างๆทั่วทุกมุมโลก เพื่อเข้ามาควบคุมกล้องและบันทึกภาพผ่าน อินเตอร์เน็ตจากระยะไกลๆได้โดยไม่ต้องกังวลถึงการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆของ IP Address อีกต่อไป
การติดตั้งเริ่มจากนำคู่สายโทรศัพท์ที่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงต่อเข้ากับช่อง RJ11 ของ ADSL Modem Router และเชื่อมต่อสายแลนด้านหนึ่งเข้ากับช่อง RJ45 ช่องใดก็ได้ ของเราเตอร์ และอีกด้านหนึ่งเข้ากับช่อง RJ45 ของกล้อง IP Network Camera ขั้นตอนต่อไปคือ การนำสายแลนอีกสายหนึ่งมาเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และช่อง RJ45 ที่เหลืออยู่ของเราเตอร์ เพื่อ ใช้สำหรับการตั้งค่าต่างๆให้กับตัวเราเตอร์และตัวกล้องเพื่อเชื่อมต่อออกสู่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ค่า IP Address ที่ใช้งานครั้งแรกของเราเตอร์รุ่นนี้ก็คือ 192.168.1.254 ส่วนกล้องและ คอมพิวเตอร์จะได้รับแจกค่า IP Address โดยอัตโนมัติจากเราเตอร์ ในที่นี้สมมุติให้เป็น 192.168.1.2 สำหรับไอพีของกล้อง และ 192.168.1.3 สำหรับคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อ Modem Router สู่โลกอินเตอร์เน็ต เปิดคอมพิวเตอร์แล้วเข้าไปที่ Web Browser ที่ Address พิมพ์ http://192.168.1.254 เราเตอร์ จะถาม User name ให้พิมพ์ Admin ส่วน Password ให้พิมพ์ Admin เช่นกัน
จากนั้นไปที่ Wizard Setup เพื่อตั้งค่าโหมดของเราเตอร์ ในที่นี้เลือกเป็นโหมด Routing ส่วน Encapsulation เลือกเป็น PPPoE ต่อมา Multiplex เลือกเป็น LLC และ virtual Circuit ID เลือก VCI และ VPI ตามที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรายนั้นใช้อยู่ในที่นี้เลือกเป็น 0 กับ 32
จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next เพื่อใส่ค่าของ User name และ Password ก็คือตามที่ผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ตได้ให้มานั้นเอง เลือกใส่ค่าตามภาพ
และกดปุ่ม Next อีกครั้งเพื่อแสดงค่าต่างๆที่เรา Configure ในข้างต้น
สุดท้ายก็ Save Setting เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านก็สามารถท่องสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้อย่าง รวดเร็ว
การตั้งค่า Configuration ให้กับกล้อง เมื่อเชื่อมต่อสายแลนจากเราเตอร์เข้าที่ตัวกล้อง แล้วเราเตอร์จะแจกค่าไอพีแอดเดส (IP Address) ให้กับกล้องแต่เราจะทราบได้อย่างไรว่ากล้องได้ อะไร โดยใช้โปรแกรม Installation Wizard ที่ติดมากับกล้องเพื่อสแกนหา IP ที่เราเตอร์แจก ให้กับกล้อง
เมื่อเจอค่า IP ของกล้องเราก็เข้าไปที่ Web Browser ของคอมพิวเตอร์เพื่อเข้าไปกำหนด ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ต่างๆของตัวกล้อง เราควรกำหนดค่า IP ของกล้องให้เป็นแบบ Static IP นั้นคือการ Fix IP ซึ่งจะเป็นค่าที่แน่นอนและไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อมีการ Restart ของกล้อง เกิดขึ้น ในที่นี้ยกตัวอย่างเป็นค่าไอพี http://192.168.1.3
หลังจากนั้นใส่ค่าพารามิเตอร์ (Parameter) ต่างๆ อาทิเช่น IP addressใส่ 192.168.1.3 , Subnet mask ใส่ 255.255.255.0 , Default router ใส่ 192.168.1.254 นั้นคือ IP ของเราเตอร์นั้นเอง , HTTP port ใส่พอร์ท 80 สำหรับการเชื่อมต่อ (access) เว็บเซิร์ฟเวอร์ และ Streaming port ที่ทำให้ ควบคุมกล้องและได้ยินเสียงและอนุญาตให้ส่งภาพสู่อินเตอร์เน็ตส่งให้ผู้ที่ใช้งานทำการเชื่อมต่อ (access) เข้ามาดูได้
าพที่ปรากฏออกมาทางหน้า Web Browser จะมีลักษณะภาพดังรูปและสามารถตั้งชื่อ สถานที่ๆกล้องอยู่ได้อีกด้วยทำให้ง่ายต่อการจดจำ
ากนั้นจึงทำการเปิดพอร์ทที่ตัวเราเตอร์ให้ตรงกับพอร์ทของกล้องและ IP ของกล้องเพื่อใช้ในเวลา ที่ต้องการเชื่อมต่อ (access) กล้องผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อเข้ามายังพอร์ทของกล้อง รวมทั้งเปิดพอร์ท 5002-5003 เพื่อรับฟังเสียงที่ชัดเจน นั่นคือเข้าฟังก์ชัน NAT และเข้าไปที่ Many to One และ คลิกที่ Edit Detail
จากนั้นใส่ Start Port เป็นพอร์ท 80 และ End Port เป็นพอร์ท 80 เช่นกัน ส่วน IP Address ใส่ เป็นไอพีของกล้อง และ เปิดพอร์ท 5002 และ 5003 ตามด้วยไอพีของกล้องเหมือนเดิม
ดการกับ Dynamic IP Address เน็ตเวิร์กขององค์กรขนาดใหญ่มีการใช้งาน Database ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่โดยมักจะใช้ Leased Line ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งยังขึ้นอยู่กับความเร็วและระยะทาง ถ้าระยะทางยิ่งไกลก็จะทำ ให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รวมถึงค่าอุปกรณ์เช่น เราเตอร์ก็มีราคาสูง การเชื่อมต่อด้วย Leased Line ผู้ ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะมี Static IP จำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถนำ
Static IP ดังกล่าวไปใช้สำหรับการติดตั้งเราเตอร์ เว็บเซิร์ฟเวอร์ แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ หรือ อุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ รวมถึงกล้อง IP Network Camera ที่ต้องอาศัยความสะดวกและมี IP Address ใช้ในการอ้างอิงและเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก ADSL แบบ Home Used อย่างมาก โดยรวมแล้วผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจะเป็นผู้จ่าย IP Address ลักษณะสุ่ม IP เนื่องจากมีการแบ่งสัดส่วนในการใช้ IP มากกว่า Static IP และจะเกิดการ เปลี่ยนแปลงของ IP ได้ง่ายหากจะนำกล้อง IP Network Camera มาติดตั้งหลัง ADSL Modem Router ทำให้เกิดผลกระทบจนไม่สามารถดูภาพจากกล้องได้ เพราะ IP ที่ใช้ในการอ้างอิงมีการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
แก้ไขปัญหาการเชื่อมต่ออินเตร์เน็ตโดยใช้ Static Address
เราสามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นโดยอาศัยการเชื่อมต่อ (access) เซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์เน็ต เวิร์กต่างๆด้วย Static Address แทนการเชื่อมต่อ (access) ด้วย IP Address เช่นเดิม หลักการของ Static Address อาศัยการอัปเดตค่า IP Address ของอุปกรณ์เราเตอร์หรือ เซิร์ฟเวอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยอ้างอิงไว้ที่ Address อาทิเช่น http://camera.dyndns.org เพื่อที่จะควบคุม ฟังเสียง บันทึกภาพได้ตลอดเวลา
การตั้งค่า Host Name
ต้องทำการตั้งชื่อให้กับตัวกล้องเสมือนว่ากล้องเป็นเวปไซท์เวปหนึ่ง โดยทำการสมัครเป็น สมาชิกที่ Web site www.dyndns.org เพื่อทำการตั้งชื่อให้กับกล้องของ IP Network Camera เสียก่อน
เมื่อตั้งชื่อเสร็จแล้วทางเวปจะปรากฏ IP จริงของอินเตอร์เน็ต ในเครือข่ายเรา ณ ขณะนั้น แต่อีกไม่ นาน IP จริงเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปหลังจากนั้นก็นำค่าที่เราไป Configure ที่www.dyndns.org ไปใส่ไว้ในเราเตอร์
ใช้งานกล้องผ่านอินเตอร์เน็ตระยะไกล เมื่อท่านติดตั้งกล้องไว้ที่สำนักงานหรือที่ทำงาน โดยติดตั้งกล้อง IP Network Camera เชื่อมต่อกับ ADSL Modem Router และมีการ Online ตลอดเวลา ส่วนตัวท่านอยู่ที่สำนักงาน สาขาอื่นหรือที่ต่างประเทศ ท่านสามารถเลือกใช้งานกล้อง IP Network Camera ผ่านอินเตอร์เน็ต จากระยะไกล โดยที่ท่านเปิดคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับสัญญาณอินเตอร์เน็ต แล้วเข้า Web Browser โดยเปิดไปที่ http://camera.dyndns.org เมื่อเข้าไปแล้วท่านก็สามารถควบคุมกล้อง ให้หมุนในแนวตั้งและแนวนอนได้ พร้อมกับบันทึกภาพและเสียงในมุมต่างๆ ภายในสำนักงาน ของท่านที่อยู่ห่างไกลออกไปได้
กล้อง IP ดีกว่ากล้อง Analog ตรงไหน
เขียนโดย Administrator
กล้อง IP (IP NETWORK CAMERA) คือ กล้องวงจรปิดที่มีอุปกรณ์การแปลงสัญญาณวีดิโอเป็นสัญญาณดิจิตอล อยู่ในตัวกล้องดังนั้นกล้องจึงสามารถเชื่อมต่อกับระบบ Network ได้โดยตรงไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงานและตัวกล้องยังสามารถตั้งค่าหมายเลข IP Address ได้ โดยอัตโนมัติ
IP Address คือ หมายเลขที่ใช้แสดงตำแหน่งกล้องไอพี เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อยู่ใน Network เช่นหมายเลข 192.168.1.10ดังนั้นกล้องไอพีตัวนี้ก็อยู่ในตำแหน่ง 192.168.1.10 ใน วง Network กล้อง IP ที่มีทั้งต่อเข้า UTP และ Wireless
มาดูกันว่ากล้อง IP ดีกว่ากล้อง Analog อย่างไรบ้าง
เมื่อเปรียบเทียบการเดินสายสัญญาณกล้องวงจรปิด ระบบอะนาล็อก Analog ต้องการใช้สายสัญญาณชนิดโคแอกเชียล (coaxial) ระยะทางเดินขึ้นอยู๋กับชนิดของสายตั้งแต่ 100-800 เมตร โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ขยายสัญญาณ เดินสาย 1 เส้น ต่อกล้อง 1 ตัว ฉะนั้นถ้าต้องการติดตั้งกล้องเพิ่มต้องเดินสายใหม่ทุกครั้ง
ระบบกล้องไอพี IP จะใช้หลักการเช่นเดียวกับ network หรือระบบ LAN ดังน้น สาย LAN 1 เส้นก็รองรับได้หลายกล้อง เพียงแต่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ขยายสัญญาณเช่น Hub , Switcher
ดังนั้นหากมีการติดตั้งกล้องเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องเดินสายใหม่ หากว่าช่องสัญญาณเพียงพอและสามารถรองรับข้อมูลได้ (โดยปกติระบบ Network จะใช้สาย UTP ไม่เกิน 100 เมตร และสาย Fiber Optic ได้หลายสิบกิโลเมตร)
Analog Camera
ข้อดี
1.ระบบอนาล๊อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
2. เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบเล็กไป ถึงระบบใหญ่ ทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. ในระบบอนาล๊อก มีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถเลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
4.ระบบอนาล๊อกถูกพัฒนา จนแทบจะเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงสุดท้ายของเทคโนโลยีจองระบบอนาล๊อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ทำให้ปัญหาต่างๆของระบบอนาล๊อกเกิดขึ้นน้อยมาก
ข้อเสีย
1.ระบบอนาล๊อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนาล๊อกในระบบราคาแพงเท่านั้น
2.ระบบอนาล๊อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากว่าไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
3. ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญานในระยะไกลๆได้
IP Camera
ข้อดี
1.สนับสนุนการทำงานผ่านระบบไร้สายมากกว่า Analog
2.กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้ โดยไม่ต้องเดินสายใหม่
3.หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่าย โดยไม่ติดข้อจำกัดในส่วนของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
4. เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผลที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ "เต็มที่" ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป
5. แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
6. เป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบอนาล๊อกไม่สามารถทำได้ นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p
7. บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกต่างหาก
8. เนื่องทำงานบนระบบ digial สามารถที่จะ backup ข้อมูลได้ตลอดเวลาบน server
ข้อเสีย
1. เนื่องจากใช้ Brandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
2. ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบอนาล๊อก ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
3. เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำให้มีมากกว่า 1 มาตราฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันคุยกันได้ พุดให้เข้าใจง่ายๆคือ "ข้ามยี่ห้อไม่ได้" นั่นเอง