ชนิดของเลนส์สามารถแยกย่อยออกหลักๆ ประมาณ 3 ประเภท ได้แก่ FIX LENS เป็นเลนส์ที่มีระยะตายตัว ไม่สามารถปรับระยะและโฟกัสของภาพได้ |
- Board Lens เป็น fix lens ชนิดหนึ่งใช้เรียกกับ กล้องวงจรปิดชนิดโดม |
- CS Mount Lens เป็น fix lens ชนิดหนึ่งใช้เรียกกับ กล้องวงจรปิดมาตราฐาน |
- AUTO-IRIS LENS เป็นเลนส์ที่ปรับระยะและโฟกัสของภาพได้ ใช้เรียกกับกล้องวงจรปิดแบบมาตราฐาน สามารถปรับการรับแสงได้อัตโนมัติ สามารถปรับระยะเลนส์ได้ตาม |
ขนาดที่กำหนดของเลนส์ |
- Vari-Focal LENS เป็นเลนส์ที่ปรับระยะและโฟกัสของภาพได้ ใช้เรียกกับกล้องวงจรปิดอินฟาเรด โดยปกติทั่วไป จะสามารถปรับได้ภายนอกของตัวกล้อง ต่างกันเพียง |
ตำแหน่งในการปรับเท่านั้น |
ขนาดของเลนส์ต่างๆ เช่น เลนส์ 4 mm. คือระยะห่างจากเลนส์โฟกัส ห่างกับ Sensor 4 mm. |
- เลนส์ใกล้ Sensor มากเท่าไหร่ภาพที่ได้จะยิ่งกว้างเห็นบริเวณโดยรอบแต่ระยะไกลจะไม่ชัด |
- เลนส์ไกล Sensor มากเท่าไหร่ภาพที่ได้จะยิ่งแคบแต่จะเห็นระยะไกลชัดขึ้น |
ข้อจำกัดของเลนส์ (LENS)
|
1. เลนส์เบอร์ต่ำจะให้ภาพที่กว้างเห็นระยะใกล้ชัด ไกลไม่ชัด
|
2. เลนส์เบอร์ต่ำมากๆ จะให้ภาพที่กว้างมากแต่ภาพจะโค้งมากตามไปด้วย
|
3. เลนส์เบอร์สูงจะให้ภาพที่แคบเห็นระยะใกล้ไม่ชัด ไกลชัด
|
4. เลนส์มาตราฐานที่นิยมใช้กับกล้องวงจรปิดมากที่สุดคือเลนส์ 3.6 mm กับ 4 mm.
|
5. เลนส์กล้องวงจรปิด สามารถใช้กับกล้อง Sensor ขนาด 1/3” และ 1/4” ได้แต่ภาพที่ได้จะต่างกันเล็กน้อย
|
6. เลนส์แต่ละขนาด ต้องใช้ให้เหมาะสมกับหน้างาน
|
เทคนิคการเลือกใช้งานขนาดของเลนส์ (LENS)
|
- เลนส์ขนาด 2 mm. เป็นเลนส์มุมกว้างมากเหมาะสำหรับติดตั้งภายในลิฟต์ |
- เลนส์ขนาด 3.6 mm และ 4 mm. เหมาะสำหรับต้องการเห็นบริเวณโดยรอบ เช่น ในห้องออฟฟิต |
- เลนส์ขนาด 8 mm เป็นเลนส์มุมแคบ เหมาะสำหรับ ทางเดินหอพักอพาร์ตเมนต์ |
- เลนส์ขนาด 16 mm ขึ้นไปใช้สำหรับมองในระยะไกล หรือ ต้องการโฟกัสสิ่งของสำคัญเป็นจุดๆ |
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวับเลนส์ (Lens)
|
เลนส์ของกล้องวงจรปิดโดยทั่วไปมีส่วนที่ทำทำหน้าที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ |
Focal Length (ความยาวโฟกัส) - มีส่วนในการกำหนดลักษณะและรูปแบบของภาพที่จะไปปรากฎอยู่บน Monitor สามารถแบ่งประเภทของเลนส์ตาม |
คุณสมบัติในส่วนนี้ออกได้เป็น 2 แบบ คือ |
► Fixed Focal Length - เป็นเลนส์แบบที่ความยาวโฟกัส (Focal Length) ถูกกำหนดไว้ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ |
► Variable Focal Length - เป็นเลนส์แบบที่ความยาวโฟกัส (Focal Length) ไม่ได้ถูกกำหนดไว้ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนได้ แบ่งออกได้เป็น |
อีก 2 แบบ คือ |
1. Manual - แบบปรับเองด้วยมือ |
2. Auto - แบบปรับอัตโนมัติ |
หมายเหตุ: เลนส์ซูม (Zoom Lens) ถือเป็นเลนส์ชนิดหนึ่งในกลุ่มเลนส์แบบ Variable Focal Length (ปรับความยาวโฟกัสได้) โดยที่ภาพที่ได้จากเลนส์ |
ชนิดนี้ยังคงมีความคมชัดอยู่เสมอในขณะที่มีการปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัส แต่ยังมีเลนส์อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Varifocal Lens ซึ่งก็ถือเป็นเลนส์อีกชนิด |
หนึ่งในกลุ่มเลนส์แบบ Variable Focal Length (ปรับความยาวโฟกัสได้) แต่ต่างจากเลนส์ซูม (Zoom Lens) ตรงที่เลนส์ประเภทนี้จะสูญเสียความคมชัด |
ไปในขณะที่มีการปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัส ทำให้ต้องมีการปรับความชมชัดของภาพอีกครั้งหลังจากทำการปรับความยาวโฟกัสเสร็จเรียบร้อยแล้ว |
► Iris (ม่านรับแสง) - ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะมาถึงตัว Sensor สามารถแบ่งประเภทของเลนส์ตามคุณสมบัติในส่วนนี้ออกได้เป็น 2 แบบ คือ |
Manual Iris - แบบปรับเองด้วยมือ สามารถปรับขนาดรูรับแสงโดยใช้มือหมุนปรับวงแหวนที่ตัวเลนส์ |
► Auto Iris - แบบปรับอัตโนมัติ การปรับขนาดรูรับแสงทำงานร่วมกับตัวกล้องโดยอัตโนมัติ โดยเลนส์ที่ใช้ม่านรับแสงแบบนี้จำเป็นต้องมีสัญญาณไฟเลี้ยงให้วงจรของม่านรับ แสงทำงาน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ |
§ แบบไฟตรง (DC Controlled Iris) เป็นเลนส์ Auto Iris ที่ใช้สัญญาณไฟตรงจากตัวกล้อง ไม่ต้องมีวงจรขยาย การเปลี่ยนแปลงขนาดของม่านรับแสง |
ทำงานไปตามการเปลี่ยนแปลงของไฟฟ้า ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของแสงจากการทำงานของกล้อง เลนส์ชนิดนี้ส่วนมากจะมีสายพร้อม |
ปลั๊ก 4 ขา (Pin) เพื่อต่อกับกล้อง ปลั๊ก 4ขานี้ในอดีตเรียกว่า 4 Pin Plug Panasonic Standard ซึ่งโรงงานที่ผลิตกล้องเกือบทุกโรงงานจะใช้เป็นมาตรฐาน |
เดียวกัน คือ สามารถนำเลนส์ชนิด DC Type ไปใช้ได้กับกล้องได้ เกือบทุกผู้ผลิต |
§ แบบสัญญาณวิดีโอ (VDO Controlled Iris) กล้องจะจ่ายไฟฟ้าไปให้เลนส์ในลักษณะของสัญญาณภาพ โดยจะมีความเข้มของสัญญาณภาพ |
แตกต่างกันไป เลนส์ที่ใช้กับกล้องที่จ่ายไฟฟ้าแบบนี้จะต้องมีวงจรขยาย (Amplifier) เพื่อเปลี่ยนความเข้มของสัญญาณภาพ เป็นไฟฟ้าเพื่อให้อุปกรณ์ตัว |
เล็กๆ ที่เรียกว่า กัลวานอมิเตอร์ (Galvanometer) ทำหน้าที่คล้ายๆ กับมอเตอร์ ทำงาน เพื่อให้ม่านรับแสงเปลี่ยนขนาด ใหญ่ - เล็ก ตามการเปลี่ยนแปลง |
ของแสงในรูปของความเข้มของสัญญาณภาพ เลนส์ชนิดนี้โดยมากจะมีสายสำหรับต่อกับกล้องโดยจะปล่อยปลายสายไว้ (ไม่มีปลั๊ก 4ขา ) |
ทั้งนี้การจะเลือกใช้เลนส์ Auto Iris แบบใด จะต้องทราบก่อนว่าจะนำไปใช้งานกับกล้องที่จ่ายไฟฟ้าให้กับเลนส์แบบใด โดยศึกษาจากคู่มือของกล้อง |
เพราะว่าถ้าใช้เลนส์ผิดประเภทกับการจ่ายไฟของกล้อง เลนส์จะไม่ทำงาน หรืออาจจะเสียหายได้ เพราะว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) ที่กล้องจ่ายให้ |
กับเลนส์ทั้งสองแบบ มีความแตกต่างกันมาก และถ้าใช้เลนส์ผิดชนิดก็จะไม่มีภาพ เพราะว่าเลนส์ไม่เปิดรับแสง สำหรับเลนส์แบบ Auto Iris นั้นเหมาะที่ |
จะนำไปใช้กับกล้องที่ติดตั้งภายนอกอาคาร (Outdoor) เพราะปริมาณแสงที่อยู่ภายนอกอาคารจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตลอดทั้งวันซึ่ง Auto Irisจะ |
ทำการปรับปริมาณการรับแสงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คุณภาพของภาพออกมาดีที่สุด |
|
|